ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556

จำเลยรัก เวอร์ชั่นหนัง-ละคร


รายงานเรื่อง จำเลยรัก

ส่ง...ผู้มีความชอบหรือสนใจทุกคน

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษานวนิยายไทยที่นำมาสร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์

จำเลยรัก เป็นนวนิยายในปี พ.ศ. 2503 บทประพันธ์ของชูวงศ์ ฉายะจินดา ซึ่งเป็นทั้งชื่อจริงและนามปากกา

 


  ตีพิมพ์ในเดลิเมล์วันจันทร์ระหว่างพ.ศ.2504-2405 เป็นเรื่องราวความแค้นของหฤษฎิ์ รังสิมันต์ พี่ชายที่ต้องสูญเสียน้องชายและเขาโกรธแค้นหญิงสาวต้นเหตุถึงกับจับตัวมาลงโทษเพื่อให้หายแค้น แต่จับมาผิดคน โดยไปจับโศรยาซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องของศันสนีย์ที่เป็นต้นเหตุ แต่สุดท้ายก็แกิดความรักและเห็นใจกัน บทประพันธ์นี้มีการนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์หลายครั้ง

1.เพลง...จำเลยรัก ขับร้องโดย...สวลี ผกาพันธ์



 

จำเลยรัก ถูกนำมาสร้างทำเป็นภาพยนตร์ 2 ครั้ง คือ 


ครั้งที่ 1. พ.ศ. 2506 นำแสดงโดย มิตร ชัยบัญชา, พิศมัย วิไลศักดิ์, อมรา อัศวนนท์, ประจวบ ฤกษ์ยามดี ซึ่งยังมีภาพยนตร์คงเหลือให้ดูอยู่ โดย คุณมนัส กิ่งจันทร์ ชมรมหนังไทยในอดีต





 

ครั้งที่ 2. พ.ศ. 2521 นำแสดงโดย ไพโรจน์ สังวรบุตร, เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์, เศรษฐา ศิระฉายา, ทาริกา ธิดาทิพย์



 

จำเลยรัก สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 5 ครั้ง คือ 

1. พ.ศ. 2517  นำแสดงโดย..สะอาด เปี่ยมพงษ์สานต์ ,กนกวรรณ ด่านอุดม และ นงลักษณ์ โรจนพรรณ 
 
2. พ.ศ. 2523 นำแสดงโดย..วิฑูรย์ กรุณา,ปนัดดา โกมารทัต,อัญชลี ชัยศิริและ เอกลักษณ์ ยลระบิล
            (พ.ศ. 2517, พ.ศ. 2523 ไม่สามารถหาภาพประกอบได้)  
 
3. พ.ศ. 2531  นำแสดงโดย..ลิขิต เอกมงคล, สาวิตรี สามิภักดิ์, ชไมพร จตุรภุช และ ยอดมนู ภมรมนตรี  
ตัวอย่าง  ไตเติ้ลวีดิโอในยูทูป 
   
 
  4. พ.ศ. 2541  นำแสดงโดย..จอห์น รัตนเวโรจน์, กุลสตรี ศิริพงษ์ปรีดา, มยุริญ ผ่องผุดพันธ์และโชคชัย เจริญสุข      
 

 

5. พ.ศ. 2551 นำแสดงโดย.. อธิชาติ ชุมนานนท์,ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ,รินลณี ศรีเพ็ญ,และชาตโยดม หิรัญยัษฐิติ  ตามบทประพันธ์ดั้งเดิม หฤษฎิ์ รังสิมันต์เป็นเจ้าของเหมือง จับโศรยาไปขังไว้ในป่าลึก แต่เวอร์ชั่นล่าสุดนี้มีการตีความใหม่ โดยมีการดัดแปลงบทประพันธ์ใหม่ให้ดูทันสมัยเป็นยุค 2551 การดำเนินเรื่อง ฉาก และองค์ประกอบต่างๆ มีลักษณะคล้ายซีรี่ย์เกาหลี เป็นเวอร์ชั่นที่มีคนชื่นชอบมากที่สุด

ตัวอย่างวีดิโอในยูทูป จำเลยรัก - อธิชาติ ชุมนานนท์,ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ




วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Full Moon จันทร์กระจ่างฟ้า


พระจันทร์เต็มดวง Full Moon

Moon หรือดวงจันทร์ ในหัวข้อวันนี้ไม่เกี่ยวกับด้านวิทยาศาสตร์หรือดาราศาสตร์แต่อย่างใด แต่กำลังจะกล่าวถึงพระจันทร์เต็มดวงที่เกี่ยวกับอารมณ์และความรู้สึกในแง่ของความงามของแสง บรรยากาศที่เงียบสงบยามค่ำคืน อากาศที่เย็นสบาย สิ่งเหล่านี้จะเกิดได้ก็ต้องไปหาดูแถวเมืองเล็กๆ  ริมน้ำ ริมทะเลหรือท้องทุ่ง เมื่อรวมกันแล้วก็จะเกิดความหมายของคำว่า เงียบสงบและเป็นสุขใจ (หรือบางเวลาอาจจะมีบางคนที่ต้องการอาศัยพระจันทร์มาช่วยสร้างอารมณ์เงียบเหงาให้เศร้ายิ่งขึ้น..)  ถ้าไม่มีเวลาไปสร้างบรรยากาศโรแมนติกยามค่ำคืนในการชมจันทร์ ขอเชิญทัศนารูปภาพที่บล็อกเกอร์รวบรวมมา ขอขอบคุณผู้ถ่ายภาพและผู้วาดภาพที่สวยงามเหล่านี้! 

ถ้าคลิกฟังเพลงประกอบในการเลื่อนดูภาพก็จะได้บรรยากาศใต้แสงจันทร์มากขึ้นทีเดียว...


คิดถึง - จันทร์กระจ่างฟ้า ร้องโดย..แซม ยุรนันท์ ภมรมนตรี


























วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ชีวิตต้องมีสีสัน Life is Colorful



สีสันสดใส Life is Colorful

สี คือ สเปรคตัมของแสงอาทิตย์ ประกอบด้วยสีหลัก 7 สี ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง พลังของแสงอาทิตย์ยังสามารถซึมซาบผ่านผิวหนังเข้าสู่ร่างกายที่เราเรียกว่าพลังออร่า สีของแสงไม่เพียงแต่มีผลต่อสุขภาพร่างกาย แต่มีผลต่อสุขภาพจิตและอารมณ์ของเราด้วย สีต่างๆ จึงมีความสำคัญต่อการสร้างความสมดุลระหว่างจิตใจ ร่างกายและอารมณ์ของคนเรา

**สีเขียว** สีที่ให้ความรู้สึกร่มรื่น สบายตา ผ่อนคลาย ปลอดภัย กระตุ้นให้เกิดความหวังและความสมดุล สามารถทำให้ประสาทตาผ่อนคลายและความดันโลหิตของเราลดลงได้

**สีน้ำเงิน** สีแห่งความสุขุม เยือกเย็น แต่หนักแน่น ละเอียดรอบคอบและคลายความเหงา ช่วยในการสร้างแรงบันดาลใจได้ดีอีกด้วย

**สีฟ้า** สีที่ให้ความรู้สึกสงบเยือกเย็น เป็นอิสระ ปลอดโปร่ง โล่งสบาย ช่วยให้ใจเย็นและระงับความกระวนกระวายในใจได้ดี 









**สีแดง** สีแรงฤทธิ์ที่กระตุ้นระบบประสาทได้รุนแรงที่สุด สร้างความรู้สึกเร้าใจ ตื่นเต้น ท้าทาย ตื่นตัว กระตือรือร้นและมีชีวิตชีวา เมื่อใดก็ตามที่รู้สึกท้อแท้หมดกำลังใจ 

**สีม่วง** ช่วยให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย กระตุ้นให้เกิดแรงบันดาลใจ ช่วยให้เกิดสมาธิและสร้างความสงบในจิตใจได้เป็นอย่างดี 


**สีส้ม** สีแห่งการสร้างสรรค์ อบอุ่น สดใส สร้างสติปัญญาความทะเยอทะยานที่เต็มเปี่ยมไปด้วยพลัง และสีส้มในทางจิตวิทยาจะช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าได้ 
         
**สีเหลือง** สีแห่งความสนุกสนาน ความฉลาดรอบรู้ ความสดใสร่าเริง และทำให้มีอารมณ์ขันและยังสามารถใช้เยียวยาอาการท้อแท้ หดหู่ และหมดกำลังใจ

















วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เพชรา เชาวราษฎร์ บนปกหนังสือดาราภาพยนตร์ ปี 2513 - 2520


เพชรา เชาวราษฎร์ นางเอกนัยน์ตาหยาดน้ำผึ้ง


เพชรา เชาวราษฎร์ (เกิด 19 มกราคม พ.ศ. 2486) ชื่อเล่น อี๊ด ชื่อจริง เอก เชาวราษฎร์ นักแสดงภาพยนตร์เจ้าของฉายา นางเอกนัยน์ตาหยาดน้ำผึ้ง มีผลงานแสดงประมาณ 300 เรื่อง ระหว่าง พ.ศ. 2505 - 2521  เพชราเกิดที่จังหวัดระยอง เป็นบุตรคนที่ 4 จากพี่น้องทั้งหมด 7 คน เมื่ออายุ 15 ปี ได้เข้ามาเรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ   เธอได้รับการชักชวนให้เข้าประกวดเทพีเมษาฮาวายประจำปีพ.ศ. 2504  ได้รับการชักชวนจากศิริ ศิริจินดาและดอกดิน กัญญามาลย์ ให้แสดงภาพยนตร์เรื่อง บันทึกรักของพิมพ์ฉวี เมื่อพ.ศ. 2505 เป็นเรื่องแรก ขณะอายุ 19 ปี โดยแสดงคู่กับ มิตร ชัยบัญชา 
เพชรา เชาวราษฎร์ แจ้งเกิดอย่างเต็มตัวจากภาพยนตร์เรื่องที่สองคือเรื่อง ดอกแก้ว ตามด้วย หนึ่งในทรวง, อ้อมอกสวรรค์ และได้แสดงคู่กับมิตร ชัยบัญชา จนเป็นที่ชื่นชอบของแฟนภาพยนตร์ เรียกว่า คู่ขวัญ มิตร-เพชรา   ประมาณ พ.ศ. 2515 เธอเริ่มมีปัญหาเรื่องสายตา เนื่องจากในการถ่ายภาพยนตร์ต้องใช้แสงไฟสว่างจ้า เมื่อดวงตาเริ่มมีปัญหาจึงไปหาหมอแต่ว่าไม่ได้ไปตามนัดโดยสม่ำเสมอเพราะต้องไปถ่ายหนัง ใช้เวลารักษาอยู่หลายปีจนกระทั่งตาบอดสนิททั้งสองข้างเมื่อ พ.ศ. 2521 ภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายที่เธอแสดง คือเรื่อง ไอ้ขุนทอง (ข้อมูจากวิกิพีเดีย)

ภาพยนตร์เรื่องแรกของเพชรา เชาวราษฎร์ เรื่อง บันทึกรักของพิมพ์ฉวี ปี 2505 แสดงคู่กับมิตร ชัยบัญชา